การปรับปรุงความคลาดเคลื่อนทางภาษาในการแปลเอกสารราชการ

ความคลาดเคลื่อน และความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในการแปลเอกสารราชการ

รับแปลเอกสารราชการ

เอกสารราชการเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างหน่วยงานราชการกับต่างประเทศ เอกสารที่แปลอย่างถูกต้อง แม่นยำ สื่อความหมายได้ชัดเจน ย่อมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ความน่าเชื่อถือ และนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ แต่หากเกิดความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อย แค่คำ หรือประโยคที่ให้ความหมายผิดพลาด ก็อาจส่งผลร้ายแรงได้

ข้อควรระวังสำหรับแปลเอกสารราชการ หรือความคลาดเคลื่อนที่มักเกิดขึ้นได้นั้น รวมไปถึง

  • ความผิดพลาดทางไวยากรณ์และคำศัพท์: เช่น โครงสร้างประโยคที่ผิด การใช้คำผิด ทำให้ผู้อ่านแปลความหมายผิด เกิดความเข้าใจผิด ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และยังสะท้อนถึงความไม่เป็นมืออาชีพ ขาดความใส่ใจ บั่นทอนความน่าเชื่อถือของหน่วยงานราชการ

  • โทนเสียงไม่ถูกต้อง: เช่นการใช้โทนเสียงที่ไม่เป็นทางการ เป็นภาษาที่ไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมกับเอกสารราชการ สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงานราชการได้ หรือการแปลโทนเสียงที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เนื้อหาของเอกสารดูคลุมเครือ ไม่สื่อความหมายที่ชัดเจน สร้างปัญหาในการสื่อสาร หรือเข้าใจเจตนาของเนื้อหาผิดเพี้ยนจนอาจก่อปัญหาได้

  • เนื้อหาไม่ครบถ้วน: เนื้อหาที่ไม่ครบถ้วน อาจทำให้เกิดข้อพิพาททางกฎหมาย นำไปสู่ความเสียหายทางการเงิน เสียชื่อเสียง และส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือในกรณีที่เป็นสัญญาที่มีความสำคัญ การมีเนื้อหาไม่ครบถ้วน อาจมีความเสี่ยงทางกฎหมาย เป็นช่องโหว่ให้ฝ่ายตรงข้ามเอาเปรียบ สร้างปัญหาในภายหลัง

  • ความคลาดเคลื่อนทางวัฒนธรรม: การแปลที่ไม่เข้าใจบริบททางวัฒนธรรม อาจสร้างความไม่เคารพ ความไม่เข้าใจ นำไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้โดยง่าย การเลือกใช้คำมีความอ่อนไหว และสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ในต่างวัฒนธรรม ซึ่งอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางการทูต และสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

วิธีการแปลเอกสารราชการให้เกิดความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
หน่วยงานราชการต่าง ๆ จำเป็นต้องเผชิญกับงานแปลเอกสารที่หลากหลาย โดยเฉพาะในหน่วยงานที่มักต้องติดต่อสมาคมกับต่างประเทศ การเลือกใช้บริการรับแปลเอกสารราชการก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เว้นเสียแต่ว่าจะทำการแปลเอกสารด้วยตนเอง แต่ทว่า การแปลเอกสารราชการนั้นมีความซับซ้อน เต็มไปด้วยศัพท์เฉพาะทาง รูปแบบการเขียนที่เป็นทางการ และความละเอียดอ่อนสูง หากแปลผิดพลาด อาจส่งผลเสียต่อความถูกต้อง ความหมาย และภาพลักษณ์ของหน่วยงานราชการได้

หากคิดจะแปลเอกสารราชการให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้น้อยที่สุดนั้น จึงควรทำตามแนวทางเหล่านี้ เพื่อช่วยให้เอกสารราชการมความสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้มากที่สุด

1.เข้าใจภาษา โดยเฉพาะภาษาราชการ
ผู้แปลจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษา จำเป็นต้องมีความเข้าใจภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่แปลอย่างลึกซึ้ง ทั้งโครงสร้างประโยค หลักไวยากรณ์ และวัฒนธรรมของทั้งสองภาษา โดยสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการเข้าใจภาษาราชการคือ ศัพท์เฉพาะทางที่ใช้ในเอกสารราชการ เช่น คำศัพท์กฎหมาย คำศัพท์ทางการเงิน คำศัพท์ทางการทูต ฯลฯ เพื่อให้แน่ใจว่าแปลได้ถูกต้อง ตรงความหมาย

2.เข้าใจบริบทของเอกสาร ลดการเข้าใจผิด
บริบท และที่มาของเอกสารมีความสำคัญอย่างมากในเนื้อความของเอกสาร ในการติดต่อทางราชการ นอกจากเนื้อหาแล้ว โทนเสียง หรือเจตนาในการเลือกใช้คำ ก็ส่งผลได้อย่างมาก หากเป็นเรื่องทางการทูต การเข้าใจผิดเล็กน้อยก็อาจสร้างปัญหาได้ รวมไปถึงการทำความเข้าใจบริบทเชิงวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ประโยคบางชนิดสื่อความหมายได้มากกว่าหนึ่งความ ตามแต่วัฒนธรรม การเข้าใจ และวิเคราะห์บริบทของเอกสาร ประเภทของเอกสาร วัตถุประสงค์ของการแปล และกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยเลือกรูปแบบการแปลให้เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้น

3.ตรวจสอบความถูกต้อง เลี่ยงความกำกวม
ในการแปลเอกสารราชการ หรือเอกสารใด ๆ ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเอกสารต้นฉบับ เปรียบเทียบกับข้อมูลอ้างอิง กฎหมาย ระเบียบ ฯลฯ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ศัพท์เฉพาะทางตรงกับความหมายในภาษาต้นฉบับหรือไม่ มีโอกาสเกิดความเข้าใจผิด หรือกำกวมในเนื้อความหรือไม่ และต้องไม่ลืมที่จะรักษาความหมายดั้งเดิมของเอกสาร และหาสมดุลระหว่าง โครงสร้างการเขียนของภาษาต่างประเทศ และความชัดเจนในเนื้อหา เพื่อความเป็นมืออาชีพ

4.คงความเป็นทางการ เหมาะสมกับกาลเทศะ
ในเอกสารราชการมักมาคู่กับภาษาราชการที่มีความสุภาพ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเอกสาร และรักษาภาพลักษณ์ของหน่วยงาน ดังนั้นในการแปล ก็ควรคงรักษารูปแบบการเขียนที่เป็นทางการ เช่น การใช้คำลงท้าย การใช้อักษรใหญ่ การเว้นวรรค ฯลฯ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รวมไปถึงการจัดรูปหน้า หรือระบบการแบ่งโครงสร้างเอกสารที่อาจแตกต่างกันตามแต่ละประเทศอีกด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นการคงรูปแบบเอกสารให้เหมาะสม ยังช่วยจัดให้ข้อมูลเนื้อหาเป็นระบบ ป้องกันความผิดพลาดในการแปลหรือทำความเข้าใจเอกสารอีกด้วย

5.ตรวจทานซ้ำ เพื่อความแม่นยำ
อีกวิธีที่จะทำให้มั่นใจว่า เอกสารมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดคือการตรวจสอบความถูกต้องของการแปลโดยผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง ด้วยผู้ที่เข้าใจภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด การเลือกใช้บริการจากบริษัทรับแปลเอกสารราชการโดยเฉพาะ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลเอกสารที่ความถูกต้องแม่นยำ เพราะมีมืออาชีพที่คุ้นเคยกับระบบภาษาช่วยแนะนำขัดเกลาให้ได้

เอกสารราชการเป็นเอกสารที่มีความละเอียดอ่อนสูง หากเกิดข้อผิดพลาดแม้เพียงนิดก็อาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ได้ เลือกศูนย์แปลภาษา บริษัทรับแปลเอกสาร บริษัทแปลภาษา GDM เรายินดีให้บริการแปลเอกสารด่วน แปลเอกสารพร้อมรับรอง รับแปลเอกสารราชการ แปลเอกสารยื่นวีซ่า แปลเอกสารราชการกงสุล สำหรับลูกค้าทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นลูกค้าทั่วไป หน่วยงานรัฐ เอกชน หรือกลุ่มธุรกิจ และอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับธุรกิจให้มีความเป็นมืออาชีพ และมีความสากลโดยเฉพาะ พร้อมให้บริการขอหนังสือรับรองความประพฤติ และแปลเอกสารครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษา แนะนำ โดยทนายรับรองเอกสาร และผู้แปลภาษาผู้เชี่ยวชาญ หากคุณกำลังมองหาบริษัทรับแปลเอกสาร บริษัทแปลภาษาคุณภาพที่มีนักแปลผู้เชี่ยวชาญภาษาต่าง ๆ โดยเฉพาะ ปรึกษาเราไม่ผิดหวังแน่นอน

 

สอบถามรายละเอียดบริการรับแปลเอกสาร รับแปลเอกสารราชการ รับแปลเอกสารพร้อมรับรอง
รับแปลภาษาอังกฤษ รับแปลภาษาจีน และภาษานานาชาติอีกมากกว่า 10 ภาษา

โทร. 081-625-2552, 087-571-5885
Email: gdmtranslation@gmail.com